📌
ภาพหน้าจอโปรแกรมอาจไม่ตรงกันในบางจุดกับโปรแกรมเวอร์ชันปัจจุบันอันเนื่องจากคำแนะนำนี้อาจยังไม่ได้ถูกปรับปรุงรูปภาพ แต่โดยขั้นตอนการใช้งานหลักยังเป็นการใช้งานแบบเดียวกัน
โปรแกรมดึงต้นทุนสินค้า แบบไหน ?
อันดับแรกเราต้องรู้ก่อนว่าเราตั้งค่าให้โปรแกรมดึงต้นทุนแบบไหนไว้
ไปที่เมนูการตั้งค่า ตามภาพด้านล่างนี้คลิกเพื่อเปิดฟอร์ม ตั้งค่าข้อมูลร้าน.... จะได้ฟอร์มตั้งค่าข้อมูลร้านตามภาพด้านล่างนี้
จากภาพด้านบนค่าปกติของการดึงต้นทุนสินค้าจะเป็น ต้นทุนตามล๊อต | FEFO/FIFO
อีกประเภทนึงคือสำหรับร้านที่ต้องการ Fix ต้นทุนตามที่ทางร้านต้องการ ให้กำหนดเป็นประเภท ต้นทุนที่กำหนดไว้
ร้านทั่วไปตามปกติแล้วควรจะเลือกประเภท ต้นทุนตามล๊อต | FEFO/FIFO เพื่อให้การนำต้นทุนของแต่ละล๊อตไปใช้งานได้ถูกต้องที่สุด, หัวข้อถัดไปนี้จะอธิบายและยกตัวอย่างคร่าว ๆ ของประเภทการดึงต้นทุนในแต่ละประเภท
ประเภทการดึงต้นทุน : ต้นทุนที่กำหนดไว้ คืออะไร
ให้เรานึกภาพตอนเราทำข้อมูลสินค้า ที่ฟอร์มรายการสินค้าในเมนูระบบสินค้า จะทีช่องให้ระบุ ราคาทุนต่อหน่วย ตามภาพด้านล่างนี้
จากภาพสมมติว่าสินค้าทดสอบ 0001 มีราคาทุนต่อหน่วยที่กำหนดไว้ 10 บาท, ทำการทดสอบทำขายจำนวน 1 แผง ราคาขาย 15 บาทตามภาพด้านล่างนี้
ตรวจสอบที่รายงานสรุปยอดขายประจำวัน เพื่อเช็คต้นทุนที่โปรแกรมนำไปใช้ตามภาพด้านล่างนี้
จะเห็นว่าโปรแกรมจะดึงต้นทุนที่ระบุเอาไว้ว่า 10 บาท ของสินค้านั้น ๆ ไปใช้งานทันที แบบนี้เรียกว่าการฟิกต้นทุน กำหนดตายตัว หรือ ตามที่รับสินค้าเข้าล่าสุดปกติจะมีการอัปเดทต้นทุนให้อัตโนมัติอยู่แล้ว เช่น รับสินค้าเข้าจากการซื้อรอบถัดไปของสินค้าทดสอบ 0001 ต้นทุนเพิ่มมาเป็น 11 บาท โปรแกรมจะเอา 11 บาทไปอัปเดทให้และการขายครั้งต่อไปจะมีการดึง 11 บาทไปใช้ทันที
การทำรับสินค้าเข้าระบบ อ่านได้คลิกตรงนี้เลย
ประเภทการดึงต้นทุน : ต้นทุนตามล๊อต | FEFO/FIFO คืออะไร
คำถามที่ถามเข้ามามาก อะไรคือต้นทุนตามล๊อตสินค้า ? ล๊อตสินค้าเกิดจากการรับสินค้าเข้าระบบตามที่เราทำกันอยู่ทุกครั้งที่ซื้อยาเข้าร้าน ซึ่งทุกครั้งที่ทำการรับสินค้าจะเกิดจำนวนในสต๊อก และ ล๊อตสินค้าด้วยเสมอทุกครั้ง
ยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพ รับสินค้าเข้าของสินค้าทดสอบ 00001 ทำรับเข้าไป 12 แผง ราคาทุนต่อหน่วยคือ 11 บาท และมีการระบุล๊อตด้วย L112SB2 ตามภาพด้านล่างนี้
หลังจากบันทึกรับเรียบร้อยแล้วขอไปตรวจสอบล๊อตหน่อย ที่เมนูระบบสต๊อก ตามภาพด้านล่างนี้
จะเห็นว่า ณ ขณะนี้สินค้าทดสอบ 0001 มีอยู่ 1 ล๊อต และ ราคาทุนต่อหน่วยของล๊อตนี้คือ 11 บาท
ทดสอบขาย 1 แผง เพื่อที่จะดูต้นทุนที่โปรแกรมดึงไปใช้
ตรวจสอบที่รายงานสรุปยอดขายประจำวันเพื่อดูต้นทุนของการขายทดสอบครัังที่ 2 นี้
จากภาพจะเห็นว่ามีการดึงต้นทุนตามล๊อตที่มีไปใช้งานแล้ว ล๊อตที่เกิดจากการรับสินค้าไปจากภาพด้านบนมีต้นทุนของล๊อต L112SB2 นั้น 11 บาท นั่นเอง
คำถามถัดมาคือ ถ้ามีหลายล๊อต หลายราคา จากการรับเข้าหลาย ๆ ร้าน โปรแกรมจะดึงต้นทุนอย่างไร ?
จากชื่อประเภทการดึงต้นทุนแบบ FEFO/FIFO โดยโปรแกรมจะดูจาก FEFO ก่อน นั่นหมายถึง ล๊อตที่มี Exp Date น้อยที่สุดจะต้องถูกเลือกไปจ่ายให้หมดก่อน, จากนั้นโปรแกรมถึงจะไปดู FIFO หมายถึง ล๊อตที่ไม่มี Exp Date โปรแกรมก็จะเลือกล๊อตที่มีวันผลิตหรือวันที่ทำรับเข้า เข้าก่อนจ่ายก่อน ตามลำดับ
สรุป การลงล๊อตสินค้าในหน้ารับสินค้า หากมีการระบุ วันหมดอายุ ถึงจะเข้าเงื่อนไข FEFO, หากไม่ได้ลงล๊อต หรือไม่ได้ลงวันหมดอายุ ก็จะเข้าเงื่อนไข FIFO ตามลำดับ, โดยโปรแกรมจำค้นหาล๊อตที่ต้องจ่ายให้อัตโนมัติ
เพื่อให้เห็นภาพจะยกตัวอย่างรับสินค้าทดสอบ 0001 เข้าไปอีกล๊อตนึง ในราคาทุนที่แตกต่างกัน ตามภาพด้านล่างนี้
มีการรับสินค้าทดสอบ 0001 เข้าไปอีก 6 แผง รอบนี้ใส่ราคาทุนไป 9 บาทต่อหน่วย ทีนี้มาตรวจสอบล๊อตสินค้ากัน ตามภาพด้านล่างนี้
จะเห็นว่าสินค้าทดสอบ 0001 มี 2 ล๊อต ล๊อตแรกที่รับเข้ามา 12 แผง ทุน 11 บาท ถูกทำขายทดสอบไปแล้ว 1 คงเหลือ 11 แผง, ล๊อตถัดมาที่ทดสอบรับเข้าไปอีก 6 แผง ทุน 9 บาท, ณ ตอนนี้สินค้าทดสอบนี้ มีอยู่ 2 ล๊อต ทุนที่ได้มาต่างกันทั้งสองล๊อต
หากเราทำขายตอนนี้โปรแกรมจะดึงทุนอะไรไปใช้งาน ?
ตามหลัก FEFO/FIFO ตอนนี้ล๊อตที่เข้ามาก่อนและมีวันหมดอายุน้อยที่สุดคือ ล๊อตแรกที่เรารับเข้ายังไม่หมด โปรแกรมก็จะดึงล๊อต L112SB2 ไปใช้งาน ในราคาทุน 11 บาทต่อหน่วยนั่นเอง เพื่อให้เห็นภาพจะทดสอบทำขายให้ดู
ลงสินค้าทดสอบ 0001 ขายจำนวน 1 แผง
ลองคลิกที่แท็บ "ล๊อตที่จ่าย" เพื่อดูกันให้เห็นสด ๆ เลยว่าโปรแกรมเลือกล๊อตไหนจ่าย ตามภาพด้านล่างนี้
ขาย 1 แผง โปรแกรมเลือกเอาล๊อต L112SB2 มาตัดจ่ายออก 1 แผง เพราะ ล๊อตนี้มาก่อน และ ยังมีวันหมดอายุที่น้อยที่สุดอยู่นั่นเอง ลองทำขายตามปกติ แล้วมาดูที่รายงานสรุปยอดขายประจำวันว่าจะได้ต้นทุนที่กี่บาท
จากภาพด้านบนการขายทดสอบครั้งที่ 3 โปรแกรมก็ยังดึงต้นทุนของล๊อต L112SB2 ในราคาหน่วยละ 11 บาทไปใช้งานอยู่
คำถามต่อมา แล้วล๊อต 9 บาท ที่รับเข้าไป 6 แผง จะได้ใช้เมื่อไร ?
หากย้อนกลับไปดูฟอร์มตรวจสอบล๊อตภาพล่าสุดที่เห็นว่า สินค้าทดสอบ 0001 มี 2 ล๊อต, โปรแกรมจะเลือกตัดจ่ายล๊อตที่ยังมีอยู่ตามเงือนไข FEFO/FIFO โดยมีล๊อตทีมีวันหมดอายุน้อยที่สุดให้หมดก่อน ถึงจะใช้ล๊อตถัดไป
เพื่อให้เห็นภาพ จะมาทดสอบทำขายสินค้าทดสอบ 0001 ให้ล๊อตแรกหมดไป ซึ่งจากที่ทดสอบขายออกไป 3 ครั้ง 3 แผง ในคำแนะนำนี้ สินค้าทดสอบคงเหลือ 10 แผง ฉนั้นจะรอบนี้จะทดสอบขายออก 10 แผงทีเดียวเพื่อให้ของล๊อตแรกหมด
ยืนยันการขายตามปกติ แล้วมาดูรายงานสรุปยอดขายประจำวัน ว่าการขายครั้งที 4 จำนวน 10 แผง ได้ต้นทุนกี่บาท
จากภาพด้านบนจะเห็นว่าต้นทุนคือ 110 บาท จากการขาย 10 แผง ถ้าหารออกมาเป็นราคาต่อแผงนั่นก็คือ 11 บาทต่อแผง ตามต้นทุนของล๊อต L112SB2 ที่เราทดสอบรับเข้าไปครั้งแรกนั่นเอง
เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนว่า ล๊อต L112SB2 ของหมดแล้ว คงเหลือ 0 เป็นอย่างไร แล้วล๊อตถัดไปจะขึ้นมาทำหน้าทีแทนอย่างไร ตามภาพด้านล่างนี้จากฟอร์มตรวจสอบล๊อตที่เดิม
จากภาพคือ จะเห็นว่าตอนนี้ล๊อตใหม่ L223AA00 ขึ้นมาด้านบนแล้ว จำนวนคงเหลือ 6 แผง และราคาต่อหน่วยคือ 9 บาท ตามที่เราทดสอบรับสินค้าเข้าครั้งที่สองไป, และล๊อตเดิม L112SB2 ได้ถูกทำหน้าที่ของมันจบเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว ของทั้ง 12 แผงที่รับสินค้าเข้าไปทีแรกหมดเรียบร้อย
ทีนี้มาทดลองขายสินค้าทดสอบ 0001 ออก 1 แผง มาดูว่าจะเกิดอะไรขึ้นรอบนี้
มาดูรายงานสรุปยอดขายประจำวัน จะเห็นว่าการขายครั้งที่ 5 ราคาต้นทุนเป็น 9 บาทต่อหน่วยเรียบร้อยแล้ว ตามภาพด้านล่างนี้
เสร็จสิ้นการยกตัวอย่างเกี่ยวกับการดึงต้นทุนของโปรแกรม ทั้งสองประเภทเรียบร้อยแล้ว
ดังนั้นเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุดควรจะตั้งค่าให้โปรแกรมดึงต้นทุนตาม : ต้นทุนตามล๊อต (FEFO/FIFO)
หรืออาจจะตามความเหมาะสมอื่น ๆ ตามที่ธุรกิจของเราเห็นว่าเหมาะสม เพราะมีบ้างท่านก็ตั้งค่าเป็นต้นทุนกำหนดเอง มีเหตุผลทางด้านอื่น ๆ ที่จะ fix cost ของสินค้าแต่ละตัวลงไป
และทุกครั้งที่มีการซื้อสินค้าเข้าร้านควรทำรับสินค้าจากการซื้อเพื่อให้ระบบจัดการเรื่องราคาและเรื่องล๊อตให้ตามตัวอย่างที่แสดงไปในคำแนะนำนี้
การทำรับสินค้าเข้าระบบ อ่านได้คลิกตรงนี้เลย